ตู้เชื่อมอาร์กอน
ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือ (TIG Welding Machine) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโลหะด้วยกระบวนการเชื่อมแบบอาร์กอน, โดยมักใช้สำหรับงานเชื่อมที่ต้องการความแม่นยำและคุณภาพสูง เช่น งานเหล็กสแตนเลส อลูมิเนียม และโลหะ, นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ที่ช่วยให้การเชื่อมมีความสะอาดและสามารถควบคุมการเชื่อมได้ดีกว่าการเชื่อมแบบอื่น
Showing 1–8 of 12 results
เนื่องจาก สามารถใช้เชื่อมได้ทั้งเหล็ก สแตนเลส ไททาเนียม และที่สำคัญ สามารถเคลื่อนย้ายง่าย เพราะเนื่องจากมีขนาดเล็กซึ่งเหมาะสำหรับการพกพาไปทำงานในที่ต่าง ๆ
ถ้าหากว่าคุณกำลังมองหา ตู้เชื่อมที่ ไฟแรง คงที่เสถียร เชื่อมนิ่ม เชื่อมได้เรียบสวย - อาร์คติดง่าย ถ้าหากยังไม่รู้ว่าจะซื้อ ยี่ห้อไหนดี ละก็ ลองดูสินค้าของเราก่อน บอกได้เลยว่า เครื่อง เชื่อมอาร์กอน ราคา ไม่แพงอย่างที่คิดซื้อไปแล้วใช้นาน !
ตู้เชื่อมอาร์กอน ยี่ห้อไหนดี
จริง ๆ แล้ว เครื่องเชื่อมอาร์กอน TIG นั้นก็มีให้เลือกอยู่หลากหลายแบรนด์ในท้องตลาด ตู้เชื่อมอาร์กอน ยี่ห้อไหนดี
RILON คือคำตอบซึ่งเครื่องนี้ก็มีความพิเศษอยู่ตรง มีหน้าจอแบบดิจิตอล น้ำหนักเบา และสามารถเชื่อมงานได้เกือบทุกรูปแบบ
โดยเฉพาะงานเชื่อมสแตนเลส เหล็ก ทองแดง ไททาเนียม เพียงแค่เสียบปลั๊กก็สามารถใช้งานได้ทันที การปรับใช้งาน ก็ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนรุ่นอื่น ๆ
แต่ละแบรนด์มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป บางยี่ห้อเน้นที่ราคาถูกเป็นหลัก ทำให้กระแสไฟเชื่อมที่แท้จริงอาจถูกลดทอนทำให้เชื่อมงานไม่ดี ชิ้นงานไม่ละลาย เครื่องตัดการทำงาน
แต่สำหรับแบรนด์ RILON นั้นผลิตจากโรงงานอันดับต้นๆ ส่งออกขายทั่วโลก คุณภาพเหมาะสม ในราคาที่จับต้องได้
ตัวแทนในประเทศไทยกว่า 20ปี มีอะไหล่และศูนย์ซ่อมในประเทศทุกรุ่น ทุกชนิด อุปกรณ์ภายในเครื่องถูกออกแบบให้สอดคล้องกับอากาศในบ้านเรา
เช่น Capacitor มีการเพิ่มการทนความร้อนได้สูงสุดถึง 105 องศา หรือ อุปกรณ์อินเวอร์เตอร์อย่าง MOSFET , IGBT , IGBT POWER MODULE ซึ่งสามารถทนการกระเพื่อมของแรงดัน (ไฟตก ไฟเกิน) ได้ดีกว่า
สารบัญ
Table of Contents
วิธี เลือก ใช้ ตู้เชื่อมอาร์กอน
เชื่อมอาร์กอน ระบบเดียว
คือ การใช้งานด้วยระบบ TIG สำหรับเชื่อมอาร์กอนเพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปจะลงท้ายด้วย (S) คือ
ตู้เชื่อมอาร์กอน 2 ระบบ
ข้อแตกต่างระหว่างรุ่น (WS) และ Down Slope) คือ ปุ่ม Down Slope เป็นฟังก์ชั่นที่เพิ่มขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่สำหรับหน่วงไฟขาลง
ซึ่งส่งผลทำให้แผลเชื่อมค่อยๆไล่ละดับจนถึงจุดหยุดเชื่อม และยังเพิ่มปุ่ม Post Gas สำหรับหน่วงแก๊สหลังเชื่อมเพื่อช่วยให้มีเวลาคลุมแผลไม่ให้เกิดฟองอากาศอีกด้วย
ตู้เชื่อมสแตนเลส
จะใช้สำหรับเชื่อมสแตนเลสอยู่แล้วซี่งจะให้กระแสไฟที่เที่ยงตรงและเสถียรกว่าทำให้เกิดความรู้สึกว่าเชื่อมนิ่ม
ตู้เชื่อมอลูมิเนียม
ระบบไฟสำหรับ เชื่อมอลูมิเนียมต้องเป็นไฟ AC (ไฟกระแสสลับเท่านั้น) เนื่องจากตู้เชื่อม อินเวอร์เตอร์ กระแสไฟ เชื่อมจะเป็น DC ซึ่งใช้สำหรับเชื่อมสแตนเลส ทองแดง เหล็กคาร์บอน ไทเทเนียม ส่วนไฟ AC จะทำงานเป็น Cycle ไฟช่วง + จะทำหน้าที่ทำความสะอาดออกไซด์ของชิ้นงาน และไฟช่วง – จะทำหน้าที่ให้ไฟในการเชื่อม เพราะฉะนั้นในการเลือกซื้อตู้เชื่อมอลูมิเนียมต้องมีสัญลักษณ์ (AC) เช่น
เครื่องเชื่อมอาร์กอน ระบบ Pulse
การทำงานของระบบพัลส์ คือการทำงาน ติด ดับ สลับกันไป สามารถเปรียบเทียบได้กับจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือจังหวะการเดินของนาฬิกา ซึ่งในทางเดียวกันเมื่อนำมาใช้กับ เครื่องเชื่อมอาร์กอนระบบ Pulse กระแสไฟจะติด ดับ สลับกัน ทำให้เชื่อมขึ้นเกร็ดได้ง่ายยิ่งขึ้น และไม่ทำให้เกิดการสะสมความร้อนในชิ้นงานซึ่งเหมาะสำหรับเครื่องเชื่อมอาร์กอน อลูมิเนียม เนื่องจากคุณสมบัติทั่วไปของอลูมิเนียมจะร้อนและเย็นเร็ว โดยสามารถปรับระดับความเร็วช้าที่ตัวเครื่องได้ เครื่องเชื่อมอาร์กอน ระบบ Pulse จะมีสัญลักษณ์ (P)
การเลือกซื้อ ตู้เชื่อม อาร์กอนจากแรงดันไฟ
ซึ่งแน่นอนว่าแรงดันไฟเป็นข้อจำกัดที่สำคัญมากต่อการเลือกซื้อเครื่องเชื่อม ซึ่งในบ้านเรามีระบบไฟ 220V AC ซึ่งหลายคนอาจจะเรียกว่าไฟบ้าน ไฟ 1เฟส ไฟ 2เฟส โดยทั่วไปกระแสไฟเชื่อมที่ไม่สามารถทำได้เกิน 300 แอมป์
กับอีกระบบไฟ 380V AC หรือที่เรียกว่า ไฟ3เฟส ไฟโรงงาน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อกระแสไฟเชื่อม ที่สามารถทำได้ และเนื่องด้วยกำลังไฟและแรงดันไฟที่มีมากกว่าของ 380V ทำให้ไฟเชื่อมเสถียรกว่า และประหยัดไฟมากกว่า 220V ถึง 30% ในปริมาณการใช้กำลังไฟที่เท่ากัน
งานเชื่อมอาร์กอน เป็นงานเชื่อมที่ยากที่สุดเมื่อเทียบกับการเชื่อมทุกชนิด ที่ใช้ทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะช่วงการอาร์คที่แคบต้องใช้ทักษะขั้นสูงและยังต้องป้องกันการสัมผัสกันระหว่างแท่งทังสเตนและชิ้นงาน อีกทั้งต้องใช้มืออีกข้างสำหรับป้อนลวดเข้าหาชิ้นงาน หากว่าแผลเชื่อมมีระยะห่างจากกัน โดยที่มืออีกข้างหนึ่งจับหัวเชื่อม
สรุป
การเลือกเครื่องเชื่อมอาร์กอนนั้น ต้องดูที่งานชนิดวัสดุที่ใช้เชื่อมเป็นหลัก รวมไปถึงความหนาของชิ้นงานที่ใช้ด้วย และ แรงดันไฟที่เราสามารถใช้งานได้ ควรเลือกเครื่องให้เหมาะสมต่อความต้องการ ข้อแนะนำ! ควรเผื่อขนาดกำลังเพิ่มขึ้นจาการใช้งานจริง ไม่ควรเร่งกระแสไฟสูงสุด เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ได้