เครื่องเชื่อม MIG
Metal Inert Gas (MIG) หรือ Metal active Gas (MAG) หรือที่เรียกกันติดปากว่า เครื่องเชื่อม MIG คือ ตู้เชื่อม ชนิดเดียวกัน ขึ้นอยู่กับแก๊สที่ใช้ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้คือแก๊ส co2 ซึ่งอาจจะเรียกว่า ตู้เชื่อม co2 ตามชนิดของแก๊สที่ใช้งานก็ได้ ซึ่งกระบวนการเชื่อมเกิดจากลักษณะลวดเชื่อมเป็นขดแบบม้วน ขับลวดด้วยสวิทช์ที่ปืนเชื่อม ส่งไปถึงแนวเชื่อมบ่อหลอมที่ชิ้นงาน เกิดการอาร์คด้วยกระไฟฟ้า ทำให้เกิดความร้อนละลายลวดเข้ากับชิ้นงาน ซึ่งแก๊ส co2 ที่ใช้จะทำหน้าที่ปกคุลมที่ผิวชิ้นงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำปฏิกิริยากับอากาศทำให้เกิดเป็นฟองอากาศได้ ซึ่งงานเชื่อม MIG จะให้การวางตำแหน่งผลการเชื่อมที่แม่นยำ กว่าการเชื่อมไฟฟ้าแบบ MMA
Table of Contents
เครื่องเชื่อม ซีโอทู
ต้องขอบอกก่อนเลยว่า ตู้เชื่อมซีโอทู MIG สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ สามารถเชื่อมเหล็ก สแตนเลส รวมถึงสามารถเชื่อมไฟฟ้าแบบ MMA ได้ด้วย ด้วยความพิเศษของตัวเครื่องที่มีน้ำหนักเบา จึงสามารถพกพาไปทำงานที่ไหนก็ได้
ด้วยคุณสมบัติ ที่ไม่เหมือนใคร เครื่องเชื่อม co2 จึงเป็นเครื่องเชื่อมที่กำลังได้รับความน่านิยมที่สุด ถ้าหากว่ากำลังมองหาตู้เชื่อมที่สามารถเชื่อมไฟฟ้าได้อย่างเสถียรและดีเยี่ยมมีสะเก็ดกระเด็นน้อย เราขอแนะนำตัวนี้เลย ตู้เชื่อมซีโอทู
ถ้าหากไม่รู้ว่าจะซื้อตู้เชื่อมซี โอทู ที่ไหนดี เราขอแนะนำเลยที่นี่ ราคาถูกกว่าที่อื่นอย่างแน่นอน พร้อมบริการหลังการขาย
เครื่องเชื่อม co2 ไม่ใช้แก๊สเราก็มีขาย เช่นเดียวกันการควบคุม เครื่องเชื่อม MIG หลักๆ จะมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ
- ปริมาณแก๊ส co2 ที่ใช้ปกคลุมชิ้นงาน โดย ตัวเกจ์ co2 (Regulator) จะมีหลอดแก้วสำหรับปรับปริมาณแก๊ส โดยปกติ จะปรับใช้อยู่ประมาณ 5-15 L/min ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ใช้งานขณะนั้น เช่น การทำงานในสถานที่ปิดหรือมีลมแรง ซึ่งจะส่งแก๊สผ่านท่อสายแก้ส โดยที่เครื่องเชื่อม co2 จะมีตัวโซลินอยด์วาล์ว ทำหน้าที่เปิด/ปิดแก้สโดยความคุมผ่านสวิทช์ของปืนเชื่อมส่งไปครอบคลุมชิ้นงานอีกที
- ความเร็วลวดเชื่อม ตู้เชื่อม MIG แทบทุกรุ่น จะมีปุ่มหมุน แบบ Volume หรือปุ่มกดปรับค่าความเร็วลวด ซึ่งความเร็วของลวดเชื่อมนั้น ต้องสัมพันธ์กับการละลายของลวดและชิ้นงาน รวมถึงความเร็วในการลากแนวเชื่อม การซึมลึกของแผลเชื่อมและความกว้างของแนวเชื่อมอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและความหนาของชิ้นงานของวัสดุแต่ละชิ้น
- กระแสไฟที่ใช้เชื่อม จะส่งผลโดยตรงกับความร้อนสำหรับละลายชิ้นงาน สามารถปรับค่า Voltage ที่ตู้เชื่อม ซีโอทู จะทำให้ค่าแอมป์ (A) สูงขึ้นตาม แต่ limit สูงสุดก็จะถูกกำหนดที่ขนาดลวดเชื่อมด้วย การปรับกระแสไฟเชื่อม ต้องสัมพันธ์กับความเร็วของลวดเชื่อมด้วย ถ้ากระแสไฟน้อยเกินไฟลวดเชื่อมจะดันออกทำให้ละลายไม่ทัน หรือถ้ากระแสเชื่อมที่มากจนเกินไป จำทำให้ลวดเชื่อมละลายไวเกินก่อนที่ชิ้นงานจะละลายด้วย
- ระยะห่างระหว่างปืนเชื่อม และชิ้นงาน ระยะห่างและองศาที่เหมาะสม มีผลต่อค่าแรงดันของ ตู้เชื่อม MIG ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อชิ้นงาน ระยะห่างระหว่างปลายสุดของกระบอกปืนเชื่อม (Nozzle) กับชิ้นงาน ที่เหมาะสม จะอยู่ประมาณ 0.5-1.0 cm ซึ่งคือความยาวของลวดเชื่อมที่ออกจากปลายกระบอกปืน ถ้าผู้ใช้งานจี้ปลายกระบอกปืนติดจนเกินไปนั้นจะทำให้ลวดเชื่อมอุดตันที่ตัว Contact Tip หรือถ้าห่างเกินไป ลวดเชื่อมอาจจะทำให้ไม่ละลายได้
เราสามารถแบ่งเครื่องเชื่อม MIG ได้หลักๆ 2 แบบคือ
- ตู้เชื่อม MIG แบบฟีดใน FEED IN คือ ตัวป้อนลวดจะอยู่ภายในเครื่องเชื่อม co2 ซึ่งถ้าเปรียบเทียบที่รุ่น แอมป์เท่ากัน เครื่องแบบฟีดในจะให้กำลังไฟเชื่อมที่ดีกว่า เนื่องจากไม่ต้องสูญเสียกำลังไปในการขับลวดระหว่าง ตัวเครื่อง กับ ตัวป้อนฟีด ในบางรุ่นจะมีที่วางถังแก๊สไว้ด้านท้ายเครื่องและมีล้อ เหมาะสำหรับการใช้งานที่สถานที่ปิด เช่น โรงงานเชื่อมประกอบ หรือ อู่รถ งานเชื่อมที่อยู่กับที่ประจำจุด เคลื่อนย้ายไม่มาก
- ตู้เชื่อม MIG แบบฟีดแยก FEED OUT (Separate) คือ ตัวป้อนลวดจะแยกออกจากตัวเครื่องซึ่งแน่นอนว่ากำลังจะสูญเสียไปตามระยะสายที่เพิ่มขึ้นระหว่างตู้เชื่อม co2 กับ ตัวฟีดป้อนลวด แต่ด้วยระยะการทำงานที่เพิ่มขึ้นมานั้นก็อาจจะทำให้ใช้งานได้สะดวกขึ้นในงานประเภท On Site ที่ต้องเคลื่อนย้ายไปในจุดต่างๆ บ่อย หรืองานเชื่อมประกอบที่ต้องขึ้นที่สูง เราก็สามารถหิ้วเฉพาะตัวฟีดขึ้นไปได้นั่นเอง
เครื่องเชื่อม MIG แบบไม่ใช้แก๊ส
เครื่องเชื่อม CO2 หรือ หรือเครื่องเชื่อม MIG แบบไม่ใช้แก๊ส มีรุ่นไหนบ้าง วิธีสังเกตุง่ายๆ คือ ตู้เชื่อม MIG แบบไม่ใช้แก๊ส
จะมี Quick Plug ที่สามารถสลับขั้ว + และ – กับสายดิน ซึ่งจำเป็นต้องใช้งานกับลวดเชื่อมที่มีลักษณะเฉพาะ คือลวดเชื่อมแบบหุ้มฟลักซ์ (Flux Core Wire) ซึ่งเป็นลวดเชื่อมที่มีฟลักซ์หุ้มที่มีลักษณะ คล้ายธูปเชื่อม เพื่อช่วยปกคลุมผิวเชื่อมแทน แก๊ส co2 ทำให้ชิ้นงานไม่สัมผัสกับอากาศจากภายนอกโดยตรง ทำให้ไม่เกิดฟองอากาศที่แผลชิ้นงาน ซึ่งในงานโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องการความแข็งแรงสูง จะใช้งานร่วมกันทั้งแก๊ส co2 และ ลวดเชื่อมแบบหุ้มฟลักซ์ (Flux Core Wire) ซึ่งโดยปกติจะมีราคาสูงกว่า ลวดแข็งแบบธรรมดา
เครื่องเชื่อม co2 ยี่ห้อไหนดี
เราควรเลือกซื้อ เครื่องเชื่อม co2 ยี่ห้อไหนดี ที่ได้มาตรฐานสากล ส่งออกขายไปทั่วโลก เราขอแนะนำ ตู้เชื่อม RILON เป็นอีกทางเลือกให้ท่านได้ตัดสินใจ ด้วยอุปกรณ์ภายที่ใส่แบบจัดเต็มโดยไม่มีกั๊ก เหมาะสมคุ้มค่ากับราคา ที่ท่านได้จ่ายไป ทั้งอุปกรณ์ อินเวอร์เตอร์ MOSFET และ IGBT Capacitor 105 องศาเซลเซียส ที่เหมาะกับการใช้อากาศร้อนของบ้านเรา Diode และ Diode Bridge คุณภาพดี มีระบบตัดอัตโนมัติ เมื่อเกิดกระแสหรือความร้อนเกิน
มีศูนย์ซ่อมและอะไหล่ครบทุดชนิด ด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี
สรุป
การเลือกซื้อ เครื่องเชื่อม MIG หลักๆ ควรดูที่ชนิดและความหนาของวัสดุที่ใช้เชื่อม บางชิ้นงานที่หนามากก็ควรเลือกขนาดตู้เชื่อม co2 ที่เหมาะสม ระบบไฟที่ใช้งาน ไฟบ้าน 220V หรือ ไฟโรงงาน 3เฟส 380V ขนาดลวดเชื่อมที่ต้องการใช้งาน ภายนอกหรือภายในอาคาร มีการเคลื่อนย้ายที่บ่อยหรือไม่ซึ่ง การเลือก ตู้เชื่อม MIG ให้เหมาะสมกับการใช้งานจะช่วยยืดอายุของเครื่องได้นานขึ้น
การปรับกำลังไฟที่ DUTY CYCLE 60% สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องเกิน 8ชั่วโมง